Monday, December 5, 2011

หลวงพ่อพูล อตฺตรกฺโข วัดไผ่ล้อม จ.นครปฐม


ประวัติ หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม


หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม นครปฐม หลวงพ่อพูล ชื่อนี้ประจักษ์ในฐานะพระเกจิอาจารย์อันดับแนวหน้าของประเทศไทยและนับเป็นสุดยอดพระผู้ยิ่งใหญ่ด้วยเมตตาบารมี เป็นเนื้อนาบุญอันไพศาล..... ที่ผ่านมาชีวิตของท่านอุทิศแล้วในพระพุทธศาสนา.....ด้วยแรงกายแรงใจช่วยเหลือผู้ยากไร้มิเคยขาด ที่สำคัญท่านพ้นวังวนของกิเลสและตัณหา มุ่งแผ่เมตตาธรรมโดยถ้วนหน้าแก่ทุกชีวิตที่เข้ามาพึ่งใบบุญโดยไม่เลือกชั้นวรรณะ สายตาของท่านมองทุกคนด้วยความเท่าเทียม ทุกคนจึงได้รับจากการปฏิบัติจาก หลวงพ่อพูล อย่างดีมาโดยตลอด
หลวงพ่อพูล เป็นพระที่มีเคร่งครัดพระธรรมวินัย ด้วยความสมถะท่านจะนิ่ง พูดน้อย จนได้รับสมญา ของจริงต้องนิ่งใบ้หลวงพ่อพูล ท่านเกิดในสกุล ปิ่นทองเมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 พ.ย. 2455 ปีชวด (ร.ศ.131) เป็นบุตรคนที่ 6 ในจำนวนพี่น้อง 10 คน บิดาชื่อ นายจู ปิ่นทองมารดาชื่อ นางสำเนียง ปิ่นทองณ บ้านเลขที่ 75 หมู่ 3 ต.ดอนยายหอม นครปฐม จบการศึกษาประถม 4 ที่โรงเรียนวัดห้วยจระเข้ นครปฐม ปีพ.ศ. 2471 จากนั้นจึงได้ฝึกอ่านเขียนอักษรขอมและแพทย์แผนโบราณจาก ปู่แย้ม ปิ่นทองผู้นี้มีศักดิ์เป็นปู่แท้ๆ และได้รับการถ่ายทอดวิชา คาถาอาคม จาก หลวงปู่จ้อย วัดบางช้างเหนือ หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง หลวงปู่กลั่น วัดพระประโทนเจดีย์ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
วัยหนุ่มหลวงพ่อพูล นั้น ชอบวิชาการต่อสู้ของลูกผู้ชาย จึงฝึกและศึกษาวิชามวยไทย และที่สำคัญท่านเคยเป็นนักมวยฝีมือดีคนหนึ่ง จนมีอายุครบวัยเกณฑ์ทหาร หลวงพ่อพูล ได้ทำหน้าที่พลเมืองดีของชาติ ด้วยการไปทำการคัดเลือกทหาร สังกัดทหารม้า เป็นทหารรักษาพระองค์ กองบัญชาการ เดิมอยู่ที่สะพานมัฆวาน กรุงเทพฯ ซึ่งตรงกับช่วงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 โดย หลวงพ่อพูล ได้รับยศเป็นนายสิบตรี มีเงินเดือนขณะนั้นเดือนละ 2 บาท
เรื่องการเป็นทหารรับใช้ชาตินี้นับเป็นความภาคภูมิใจของท่านเป็นอย่างมาก หลังจากปลดจากประจำการแล้ว ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2480 ตรงกับวันอาทิตย์ขึ้น 12 ค่ำ ปีฉลู ณ พัทธสีมาวัดพระงาม อ.เมือง จ.นครปฐม โดยมี พระครูอุตตการบดี (หลวงปู่สุข ปทฺวณฺโณ) เจ้าคณะ อ.เมือง เจ้าอาวาสวัดห้วยจระเข้ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังบวชแล้ว ได้พำนักอยู่ที่วัดพระงาม ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย สอบไล่ได้นักธรรมชั้นตรี เมื่อ พ.ศ.2482 ในระหว่างนี้เองหลวงพ่อพูลท่านได้ให้ความสนใจศึกษาด้านการเจริญสมาธิจิต ฝึกฝนวิปัสสนากรรมฐาน ตามคำสอนควบคู่กับการศึกษาวิชาอาคม ซึ่งได้รับมอบมาจาก ปู่แย้ม ปิ่นทอง และด้วยพื้นฐานความรู้ที่มีอยู่แล้ว
จึงทำให้ท่านศึกษาถ่ายทอดมหาพุทธาคมได้อย่างรวดเร็ว และที่วัดพระงามนี้ ทำให้ท่านได้มีโอกาสฝากตัวเป็นศิษย์ของ หลวงพ่อพร้อม วัดพระงาม ในกระบวนพระเกจิอาจารย์ที่เป็นบูรพาจารย์ของ หลวงพ่อพูล ซึ่งท่านเคารพนับถือมากรูปหนึ่งคือ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ได้รับคำแนะนำสั่งสอนเรื่องการเจริญสมาธิภาวนา การเขียนอักขระเลขยันต์ ปลุกเสกวัตถุมงคล วิชาอาคมต่างๆ หลวงพ่อเงินเมตตาถ่ายทอดอย่างไม่ปิดบัง ซึ่งเมื่อได้รับคำแนะนำจนเป็นที่มั่นใจแล้ว ท่านจึงออกธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพรฝึกฝนสมาธิจิต และในปี พ.ศ. 2490 วัดไผ่ล้อมเกิดขาดเจ้าอาวาสปกครองวัด เนื่องจากว่าเจ้าอาวาสแต่ละรูปอยู่ปกครองวัดได้ไม่นานต้องลาสิกขาไป
หลวงพ่อพูล ย้ายมาจำพรรษาประจำอยู่วัดไผ่ล้อม พร้อมกับได้ทำการก่อสร้าง และพัฒนาวัดเรื่อยมา ตลอดเวลาท่านพยายามมุมานะในการศึกษาด้านการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน และวิชาต่างๆ ที่สามารถที่จะนำไปช่วยเหลือชาวบ้านผู้เดือดร้อนได้โดยตลอดเวลา ปัจจุบันหลวงพ่อพูล อตฺตรกฺโข แห่งวัดไผ่ล้อม อ.เมือง จ.นครปฐม อายุ 94 ปี แม้ท่านจะมีอายุที่มากแล้ว แต่ภารกิจของท่านก็ยังคงต้องมีเรื่องให้ท่านปฏิบัติไม่ว่างเว้นท่านสร้างความเลื่อมใสศรัทธาแก่คนหมู่มาก จากปากต่อปากทำให้มีผู้ที่มาสักการะขอพรจากท่านเป็นจำนวนมากทวีคูณขึ้นเรื่อยๆ จตุปัจจัยไทยทานที่สาธุชนได้บริจาคมานั้น ท่านไม่เคยสะสม มีเท่าไหร่ ท่านก็นำไปบริจาคสร้างถาวรวัตถุ สร้างความเจริญไว้แก่วัดไผ่ล้อมจนเกิดความเจริญรุ่งเรืองแลดูสวยงามสบายตา เหมาะสมที่จะเป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนา 94ปีของ พระเดชพระคุณ ท่านเจ้าคุณ พระมงคลสิทธิการ หรือ หลวงพ่อพูล อตฺตรกฺโข ได้ล่วงเลยไปตามวัยของสังขารในฐานะสมภารเจ้าวัดกลับรังสรรค์ผลงานให้กับคณะสงฆ์ได้ดีไม่มีบกพร่อง ทั้งงานด้านปกครองคณะสงฆ์ ด้านสาธารณูปการ ด้านสาธารณสงเคราะห์ โดยเฉพาะด้านศึกษาสงเคราะห์ และเผยแพร่พระธรรมวินัยได้ครบถ้วน สมเป็นพระอาจารย์ที่มีคณะศิษย์ศรัทธาเลื่อมใสทั่วประเทศ
วันที่ 28 ธันวาคม 2547 หลวงพ่อป่วยลง คณะศิษย์ใกล้ชิดได้นำท่านเข้าตรวจเช็คร่างกาย ณ โรงพยาบาลนครปฐม ท่านควรรักษาตัวทีตึกสงฆ์ จนวันที่ 31 ธันวาคม ได้มีงานฉลองสมณศักดิ์พัดยศถวายวัดไผ่ล้อม ซึ่งขณะนั้นหลวงพ่อพูลอาการไม่ดีขึ้นและหมอลงความเห็นว่า หลวงพ่อพูลมีอาการลิ้นหัวใจรั่วและน้ำท่วมปอด ต่อมา 31 มกราคม พ.ศ. 2548 ได้ย้ายหลวงพ่อพูลไปรักษาตัว ที่โรงพยาบาลสมิติเวส กรุงเทพ ทำการรักษาตัวหลวงพ่อและปาฏิหาริย์มีจริง กว่า 4 เดือนที่หลวงพ่อ รักษาตัว เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม อาการหลวงพ่อดีขึ้น จนแพทย์แปลกใจจึงอนุญาตให้กลับวัดได้ ต่อมาวันที่ 17 พฤษภาคม หลวงพ่อได้เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษก พระขุนแผน-กุมารทองแม้ท่านจะนอนอยู่บนเตียง ที่ทางวัดเตรียมให้ ต่อมา 21 พฤษภาคม อาการ หลวงพ่อพูล ทรุดลงอีกครั้ง แต่ปาฏิหาริย์ก็เกิดขึ้นอีกครั้ง
อาการหลวงพ่อพูลดีขึ้น อากาศยามเช้าวันอาทิตย์ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 สดใสไร้เมฆฝน กระทั่งเวลา 14.55 น. เสียงเครื่องวัดชีพจรสงบลง ศิษย์ทุกคนตื่นขึ้นหลวงพ่อพูลได้ละสังขารจากพวกเขาไปแล้ว อย่างสงบทิ้งเพียงเสียงธรรมสั่งสอน และคุณงามความดี ที่สั่งสมมาตลอด 93 ปี
อุโบสถหลังใหม่(ใหญ่)และหลังเก่า(เล็ก)วัดไผ่ล้อม
 วัดไผ่ล้อมวัดชื่อดังและสวยงามอีกแห่งหนึ่งของเมืองส้มโอ ซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลจากพระปฐมเจดีย์ วัดไผ่ล้อมแห่งนี้สันนิษฐานกันว่า สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยพระองค์ทรงมีความเลื่อมใสในบวรพุทธศาสนา ได้เกณฑ์ชาวมอญที่ได้อยู่ใต้โพธิสมภาร มาช่วยกันบูรณองค์พระปฐมเจดีย์ และชาวมอญเหล่านี้ได้มาพักอาศัยอยู่ ณ บริเวณสวนป่าไผ่ใกล้องค์พระปฐมเจดีย์
สรีระหลวงพ่อพูลบรรจุโลงแก้ว

ในกาลต่อมา ที่บริเวณนี้ก็ร้างผู้คน ดงไผ่ขึ้นหนาทึบกลายเป็นที่สงบร่มเย็น พระภิกษุผู้แสวงหาธรรมหลายรูปต่างจาริกมาวิเวก ปักกลบำเพ็ญสมณธรรม ชาวบ้านในละแวกใกล้เคียงเห็นว่า สถานที่บริเวณนี้สมควรตั้งเป็นสำนักสงฆ์ จึงได้อาราธนาพระภิกษุจากวัดพระปฐมเจดีย์มาจำพรรษาเป็นครั้งคราว 
เมื่อมีภิกษุมาจำพรรษามากขึ้น ผู้คนก็มาอยู่อาศัยมากขึ้น ทำให้ป่าไผ่ที่เคยหนาทึบได้ถูกชาวบ้านหักล้างถางฟันจนหมด เพื่อไปทำที่อยู่อาศัย จะมีหลงเหลืออยู่บ้างก็บริเวณรอบๆ วัดเท่านั้น จึงกลายเป็นที่มาของชื่อวัดว่า วัดไผ่ล้อมในเวลาต่อมา 
 

 
 กุมารทองสมบัติคู่หลวงพ่อพูล
 ที่วัดไผ่ล้อมแห่งนี้ร้างขาดเจ้าอาวาสอยู่นาน กระทั่งปี พ.ศ. 2486 ทางคณะสงฆ์จึงได้แต่ง ตั้งพระอาจารย์พูล อตตรกโข ซึ่งขณะนั้นจำพรรษาอยู่วัดพระงาม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ขึ้นดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส แต่ตอนนั้นที่วัดยังไม่มีอุโบสถไว้ประกอบสังฆกรรม พระอาจารย์พูลจึงปรึกษากับพระเถระผู้ใหญ่ และญาติโยมผู้มีจิตศรัทธาร่วมกันสร้างอุโบสถขึ้น โดยเริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ.2490 และแล้วเสร็จในอีก 3 ปีต่อมา

พระอาจารย์พูล ยังได้ดำเนินการสร้างเสนาสนะ ทำให้วัดไผ่ล้อมแห่งนี้มีความเจริญทางถาวรวัตถุขึ้น อาทิ ศาลาการเปรียญ โรงเรียนปริยัติธรรม ศาลาฌาปนสถาน ศาลาปฏิบัติ หอระฆัง กุฎิสงฆ์ โรงเรียนวัดไผ่ล้อม เป็นต้น
 

  

พระพิฆเณศวร แกะจากไม้ตะเคียน
 แม้ในปัจจุบันพระอาจารย์พูล หรือหลวงพ่อพูลได้ละสังขารไปแล้วเมื่อปี พ.ศ.2548 แต่ท่านก็ยังได้สร้างปาฏิหาริย์ไว้ ด้วยสรีระของท่านยังคงสภาพเดิมไม่เน่าไม่เปื่อย ทางวัดจึงได้นำร่างของท่านบรรจุโลงแก้วตั้งไว้ที่ ศาลากรุวิมานุสรณ์ให้ลูกศิษย์และผู้เลื่อมใสศรัทธาได้กราบไหว้ นอกจากนี้ภายในศาลายังมีรูปเคารพให้กราบไหว้ขอพรอีกมากมาย อาทิ กุมารทองสมบัติ เล่ากันว่าเป็นกุมารทองที่อยู่กับหลวงพ่อพูลมาตั้งแต่สมัยที่ท่านยังหนุ่ม ตั้งแต่ที่ท่านเดินทางไปเป็นพระคู่สวดที่สุพรรณบุรีพร้อมกับหลวงพ่อเต้าและหลวงพ่อล้ง ในครั้งนั้นหลวงพ่อพูลได้กุมารทองกลับมาด้วย

เป็นกุมารทองขนาดใหญ่ เนื้อโลหะสัมฤทธิ์ ฐานกว้าง 9 นิ้ว สูง 15 นิ้ว ท่าจึงนำมาประดิษฐานไว้ที่กุฏิของท่าน และตั้งชื่อให้ว่า กุมารทองสมบัติโดยกุมารทองนี้ได้รับการเลื่องลือในเรื่องของโชคลาภ ธุรกิจค้าขาย จึงทำให้มีผู้คนแวะเวียนกันมาไหว้ทุกวัน
 
 
 
 
ท้าวเวสสุวรรณและท้าวกุเวรมหาราชประทานโชคลาภและความร่ำรวย
นอกจากนี้ยังมี พระพิฆเณศวร ที่แกะจากไม้ตะเคียนศักดิ์สิทธิ์ขนาดใหญ่ มีเศียรเป็นช้าง มีพระกรรณกว้างใหญ่ มีงายาว แต่ทรงมีร่างกายเป็นมนุษย์ มี 4 กร โดยพระพิฆเณศวรนั้น เป็นมหาเทพแห่งความสำเร็จ เทพแห่งชัยชนะ เจ้าแห่งสติปัญญา มีมนต์ขลังพลังอำนาจยิ่งใหญ่ ผู้คนจึงนิยมมากราบไหว้บูชาเช่นกัน อีกทั้งยังมีเจ้าแม่กวนอิมพันกร หัวโขน และพระพุทธรูปอีกด้วย

ส่วนบริเวณด้านนอกข้างศาลากรุวิมานุสรณ์ เป็นที่ประดิษฐาน ท้าวเวสสุวรรณและ ท้าวกุเวรมหาราชนับเป็นเทพเจ้ามหาราช เป็นคหบดีใหญ่ ที่ปรากฏมงคลนามตามคัมภีร์เทวกำเนิด โดยเทพทั้ง 2 แกะสลักจากไม้ตะเคียนขนาดใหญ่อายุนับพันปี
 



หน้าอุโบสถประดิษฐานท้าวเวสสุวรรณ

ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวกุเวรมหาราช นั้น มีชื่อเสียงในด้านประทานโชคลาภและความร่ำรวยค้าขายดีมีกำไร การคุ้มครองปกป้องทรัพย์สินที่มีอยู่แล้วให้ปลอดภัยจากบรรดาภูตผีปีศาจอำนาจชั่ว ร้ายทั้งหลายทั้งปวง และได้รับโชคดีมีชัยปลอดภัยตลอดไป

ใกล้กันเป็นที่ตั้งของ อุโบสถเฉลิมพระเกียรติอุโบสถหลังใหม่ของวัดไผ่ล้อมแห่งนี้ สร้างเป็นลักษณะทรงไทยประยุกต์ พื้นปูหินอ่อน บานประตูหน้าต่างไม้สักแกะสลัก 3 ชั้น ประวัติพระพุทธเจ้า 10 ชาติ ส่วนผนังด้านในแสดงภาพจิตกรรมเกี่ยวกับพุทธประวัติ ผนังด้านนอกเป็นลายปูนปั้นรูปเทพทรงพระขรรค์
 


หลวงพ่อสุโขทัยและจิตกรรมอันสวยงาม

กำแพงแก้วประดับด้วยเสาหงส์คาบไฟ และลูกแก้วองค์พระปฐมเจดีย์ ปูหินแกรนิต ซุ้มเสมา ศิลปะอยุธยา ซุ้มประตูอุโบสถทั้ง 4 ทิศ ปั้นเทพประจำทิศทั้งแปด พร้อมปูนปั้นเป็นรูปท้าวเวสสุวรรณโณ จาตุมหาราชิกา 8 องค์ รักษาอุโบสถทั้ง 4 ด้าน

ด้านในประดิษฐาน หลวงพ่อสุโขทัยพระประธานในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัย เนื้อโลหะลงลักปิดทอง งดงามตามพุทธลักษณะโบราณ ขนาดหน้าตัก 4 ศอก 9 นิ้ว ดำริสร้างโดยหลวงพ่อพูล เมื่อปี พ.ศ. 2540




พระพุทธศิวากร มุนินทรปฏิมากร พระประธานในอุโบสถเก่า

ด้านหน้าพระประธานยังเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งหลวงพ่อพูลได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เพื่อให้ประชาชนได้สักการบูชาเพื่อความเป็นสิริมงคลอีกด้วย



 
ท้าวเวสสุวรรณเฝ้าประตูอุโบสถ

ด้านข้างของอุโบสถหลังใหม่ เป็นที่ตั้งของ อุโบสถหลังเก่าที่สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2490 ที่ยังเปิดให้ประชาชนเข้าไปกราบไหว้ขอพร พระพุทธศิวากร มุนินทรปฏิมากรพระประธานในอุโบสถ อันเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทอง ปางขัดสมาธิ ศิลปะเชียง และยังมีรูปหล่อหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงปู่สุข วัดห้วยจระเข้ และรูปหล่อหลวงพ่อพูล อัตตะรักโข อีกด้วย



 
ศาลเจ้าแม่ตะเคียนทอง

ด้านข้างของอุโบสถหลังเก่า เป็นที่ตั้งของ ศาลเจ้าแม่ตะเคียนทอง ลักษณะเป็นศาลาทรงไทยแบบโบราณขนาดย่อม โดยเจ้าแม่ตะเคียนนั้นแกะจากไม้ตะเคียนทองอายุหลายร้อยปี ผู้คนนิยมมาบนบานศาลกล่าวในเรื่องของโชคลาภและความรัก และมักจะนำเสื้อผ้าอาภรณ์เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับสวยๆมาถวายเป็นประจำ



 
 
พระโพธิสัตว์กวนอิมพันมือ แกะจากไม้ตะเคียนโบราณ
และอีกสิ่งสำคัญภายในวัดไผ่ล้อมแห่งนี้ก็คือ พระโพธิสัตว์กวนอิมพันมือที่แกะจากไม้ตะเคียนโบราณ ที่ได้ชื่อว่าป็นพระโพธิสัตว์กวนอิมพันมือไม้ตะเคียนใหญ่สุดในโลก มีความสูงถึง 632 เซนติเมตร มี 1,262 มือ และ 1,000 ตา ปิดทองแท้ สวยงามอร่ามตาทั้งองค์

ใครที่มีโอกาสไปยังวัดไผ่ล้อมก็อย่าพลาดที่แนะนำ และการเข้าวัดทำบุญก็เป็นการสร้างความสุขให้กับตัวเราเอง ทำให้วันนี้เรามีความสุข วันที่มีความสุขก็ถือเป็นวันพิเศษได้เช่นกัน



วัดไผ่ล้อมตั้งอยู่ที่ ต.พระปฐมเจดีย์ อ.เมือง จ.นครปฐม โทร. 0-3425-0077-9

ปาฏิหาริย์ พ่อพูล โดนจ่อยิงเผาขนไม่ระคายผิว


 
 ที่มา/หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
 โจรเมืองกรุงอาละวาดหนัก ดักจี้-ปล้นชาวบ้านเป็นว่าเล่น ล่าสุดหนุ่ม จยย.รับจ้าง หลงกลคนร้ายที่ทำทีถามทางจอดรถคุยด้วย โจรเเสบสบโอกาสชักทูตมรณะออกมาจ่อเอว ขู่ขัดขืนมีสิทธิ์ตาย เหยื่อไม่กล้าหือได้ใจล้วงเงินในกระเป๋าไปเกลี้ยง โลภมากอยากได้รถมอเตอร์ไซด์อีก เเต่ผู้เสียหายไม่ยอมฮึดสู้ โจรอ่อนหัดเลยกระหน่ำยิงระยะเผาขนเข้าที่หน้าอก เหยื่อล้มคว่ำทั้งยืน ไอ้วายร้ายถึงกับช็อกหน้าซีดเผือด เมื่อเห็นเป้าหมายลุกขึ้นยืนไม่เป็นอะไร โกยหน้าตั้งวิ่งหนีเข้าป่า เจ้าตัวเชื่อปาฏิหาริย์รอดตายมาได้เพราะห้อยเหรียญหลวงพ่อพูล
 จยย.รับจ้างดวงเเข็งถูกโจรเมืองกรุงดักจี้ชิงทรัพย์ ขัดขืนถูกจ่อยิงเต็ม ๆ เเต่เหยื่อกลับไม่เป็นอะไร เกิดขึ้นเมื่อเวลา 01.00 น. วันที่ 3 ส.ค. พ.ต.ท.ทวีศักดิ์ จินดาศักดิ์ รอง ผกก.ป.สน. ทุ่งสองห้อง รับแจ้งเหตุคนร้ายชิงทรัพย์แล้วยิงเหยื่อได้รับบาดเจ็บ บริเวณหน้าโรงงานทีเอสทรังกิ้ง จำกัด ภายในซอยแจ้งวัฒนะ 12 แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ ไปตรวจสอบพร้อม พ.ต.ต. ชโลธร วัฒนะโชติ สวป. เเละเจ้าหน้าที่จำนวนหนึ่ง ที่เกิดเหตุพบร่างของนายวัชระ ดวงสุริยะเนตร อายุ 22 ปี จยย.รับจ้างวินหน้าห้างบิ๊กซี สาขาแจ้งวัฒนะ นอนร้องโอดโอยด้วยความเจ็บปวดอยู่กลางถนนมีบาดเเผลถูกยิงด้วยอาวุธปืนลูกซองเข้าที่ใต้ราวนมขวา 1 นัด บาดแผลไม่ลึกมาก หน้าอกยังมีรอยเขียวช้ำเจ้าหน้าที่รีบนำส่งรพ.ชลประทาน
 นอกจากนี้ในที่เกิดเหตุพบรถ จยย. ฮอนด้า สีน้ำเงิน ทะเบียน กนบ 724 มหาสารคาม ของคนเจ็บล้มคว่ำอยู่ ห่างไปเล็กน้อยยังมีรถ จยย. ยามาฮ่า สีแดงดำ ทะเบียน มจธ 408 กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นรถของคนร้ายล้มคว่ำขวางถนนอยู่หนึ่งคัน และมีอาวุธปืนลูกซองไทย ประดิษฐ์ตกอยู่ที่พื้นอีก 1 กระบอก พร้อมปลอกกระสุน 1 ปลอก เจ้าหน้าที่จึงเก็บไว้เป็นหลักฐาน สำหรับอาการคนเจ็บเบื้องต้นแพทย์ได้ล้างเเผลเเละเย็บให้ 4 เข็ม จากนั้นก็อนุญาตให้กลับบ้านได้
 จากการสอบสวนนายวัชระให้การด้วยน้ำเสียงที่ยังไม่หายตื่นเต้นว่า ก่อนเกิดเหตุขณะกำลังขี่รถ จยย.กลับบ้าน มาถึงจุดเกิดเหตุ จู่ ๆ มีคนร้ายเป็นวัยรุ่นชาย 2 คน ขี่รถ จยย. ซ้อนท้ายวิ่งตามประกบมา จากนั้นหนึ่งในคนร้ายได้บอกให้ตนจอดรถอ้างว่าหลงจะถามทาง ทันทีที่ตนหลงกลจอดรถ คนร้ายที่นั่งซ้อนท้ายก็เดินตรงเข้ามาพร้อมกับชักอาวุธปืนออกมาจี้ที่เอวตะคอกว่า "อย่าขัดขืนถ้าไม่อยากตาย" ก่อนจะล้วงเงินในกระเป๋าจำนวน 5,000 บาทไป หลังจากได้เงินไปเเล้วคนร้ายยังไม่พอใจบอกให้ลงจากรถจะเอารถ จยย. ตนไปด้วย

เหยื่อโจรเมืองกรุง กล่าวต่ออีกว่า ตอนนั้นคิดอยู่อย่างเดียวว่าคนร้ายอยากได้เงินก็เอาไปเลย เเต่รถ จยย.ตนต้องใช้ทำมาหากิน ตนจึงไม่ยอมพร้อมกับขัดขืนต่อสู้กับคนร้าย ทันทีนั้นเองคนร้ายได้ยิงตนชนิดจ่อเผาขน 1 นัด กระสุนพุ่งเข้าที่ราวนมขวาจนตนล้มทั้งยืน รู้สึกเจ็บเเละชาตรงจุดที่ถูกยิง เเต่เมื่อก้มดูกลับไม่เป็นอะไรมาก ใจตอนนั้นคิดว่าหลวงพ่อพูลที่ตนห้อยคออยู่ 3 องค์ คงจะช่วยให้เเคล้วคลาด จึงฮึกเหิมรีบลุกขึ้นมาพร้อมจะลุยกับคนร้ายอีกครั้ง เเต่ก็ไม่ลืมร้องตะโกนเรียกชาวบ้านให้ออกมาช่วย ทำเอาคนร้ายกลัวจนหน้าถอดสีก่อนจะทิ้งรถเเละปืนวิ่งหนีเข้าไปในป่ากก คาดว่าคนร้ายคงเเปลกใจว่าจ่อยิงระยะเผาขนเต็ม ๆ เเต่ตนกลับไม่เป็นอะไรมาก

อย่างไรก็ตามหลังรับเเจ้งเจ้าหน้าที่ได้นำกำลังปิดล้อมพื้นที่นานกว่า 2 ชั่วโมง แต่ยังไม่มีวี่เเววพบตัวคนร้ายเเต่อย่างใด เจอเพียงเสื้อแจ๊กเกตสีดำกับรองเท้า 1 คู่ โดยภายในเสื้อพบบัตรประชาชนระบุชื่อนายโบล (นามสมมุติ) อายุ 17 ปี จึงเก็บไว้เป็นหลักฐาน ซึ่งจะได้เร่งติดตามเจ้าของบัตรมาสอบปากคำว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีหรือไม่ หากมีส่วนเกี่ยวข้องจะได้เเจ้งข้อหาดำเนินคดีทางกฎหมายต่อไป
 ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ระหว่างที่นายวัชระเล่าวินาทีเฉียดตาย ได้โชว์สร้อยคอที่เเขวนพระเหรียญหลวงพ่อพูลให้ผู้สื่อข่าวดูตลอดเวลา พร้อมกับพนมมือไหว้ ทั้งนี้นายวัชระเชื่อว่าที่รอดตายมาได้เพราะห้อยเหรียญหลวงพ่อพูล ที่เจ้าตัวนับถือเคารพบูชา ได้แก่ พระขุนแผน-กุมารทอง, เหรียญรูปสิงห์ และหนุมาน อีกทั้งที่บริเวณหน้าอกของนายวัชระยังสักอักขระเป็นสร้อยสังวาลย์ของหลวงพ่อเปิ่น จ.นครปฐม ด้วยเช่นกัน.

Monday, November 28, 2011

สมเด็จปรกโพธิ์ เยี่ยวชะนี ปี 2549 พิเศษฝังตะกรุด 3 ดอก




สมเด็จเยี่ยวชะนีนั้น หลวงพ่อตัดท่านได้เคล็ดลับนี้มาจากหลวงพ่อกริช วัดเขากระจิว ในการทำพระพิมพ์สมเด็จเยี่ยวชะนีนั้น มวลสารสำคัญที่ขาดเสียไม่ได้ก็มีอยู่ด้วยกัน 4 อย่างคือ
1.ยอดสวาท
2.ยอดรักซ้อน
3.ว่านสาวหลง
4.เยี่ยวชะนี
ในส่วนของเยี่ยวชะนีนั้น ส่วนใหญ่จะได้มาจากวัดหนองตาแต้ม จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพราที่วัดนั้นเลี้ยงชะนีไว้ ส่วนการเก็บเยี่ยวชะนีก็จะเก็บมาโดยเอาใบไม้ที่ชะนีเยี่ยวรดไว้ มาผึงแดด และบดเป็นผงถ้ามีโอกาสจะนำรูปมาให้ชมในโอกาสต่อไปครับ ในส่วนของการปลุกเสกก็ใช้คาถา"นะมหาอ่อนใจ "เป็นหลักในการปลุกเสกวัตถุมงคล ด้านเมตตาของวัดชายนาทั้งหมด ซึ่งวิชานี้หลวงพ่อท่านได้เรียนมาจาก หลวงพ่อเทพ วัดถ้ำรงค์ จ.เพชรบุรีครับผม

สมเด็จเยี่ยวชะนีปรากฏตัวขึ้นครั้งแรกประมาณปี ๒๕๒๗ ออกในนามวัดเขากระจิว ในจำนวนหลักสิบ เป็นพระพิมพ์ปรกโพธิ์ขนาดค่อนข้างใหญ่ รุ่นแรกนี้พอหาได้แต่ราคาเล่นหากันค่อนข้างสูงใน เพดานหลักหมื่น สมเด็จเยี่ยวชะนีที่ออกในชื่อวัดชายนา รุ่นแรก ประมาณปี ๒๕๔๘ ต่อ ๒๕๔๙ ในจำนวนประมาณ ๒๐๐ องค์
รุ่นสองนี้มีจะทั้งพิมพ์สมเด็จและขุนแผนเยี่ยวชะนี รุ่นสองนี้มีฝังตะกรุดทองคำจำนวนหลักสิบ มีราคาทีหากันประมาณ พันปลายๆ ถึงหมื่นต้นๆ
ต่อมาในปี ๒๕๕๐ ได้มีการสร้างสมเด็จและขุนแผนเยี่ยวชะนีผสมผงพรายกุมารหลวงปู่ทิม อีกจำนวนหนึ่ง
ในระยะเวลาไล่เลี่ยกันคือปลายปี ๒๕๕๐ ต่อต้นปี ๒๕๕๑ ได้มีการกดพิมพ์สมเด็จเยี่ยวชะนีอีกครั้ง จำนวนเยอะที่สุดตั้งแต่สร้างมา คือประมาณ ๓,๐๐๐ องค์ มีัวัตถุประสงค์ให้หลวงพ่อปลุกเสก ๕ ปี หรือบรรจุกรุไว้ในโบสถ์ ครบ ๕ ปีแล้วจึงนำออกแจกให้บูชากัน

การสร้างครั้งหลังสุดนี้ได้ทำลายบล็อคทิ้งไปด้วยแล้ว จำนวนพระสมเด็จเยี่ยวชะนีที่สร้างในระหว่างปี ๕๐-๕๑ จึงมีจำนวนประมาณ ๕,๐๐๐ องค์เท่ากับอายุของพระพุทธศาสนา จึงไม่น่าแปลกที่ ผู้ที่ศรัทธาจะนิยมหาสมเด็จเยี่ยวชะนีปี ๔๘ มากกว่า เพราะจำนวนสร้างเพียงแค่ ๒๐๐ องค์ และเนื่องจากพระทั้งหมดใช้บล็อคเดียวกัน การแยกปีหรือรุ่นคงต้องดูความแตกต่างกันที่เนื้อมวลสาร ของแต่ละยุค

ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม สมุทรปราการ ตอนที่ 9 (จบ)

มาบัดนี้จึงได้เริ่มสร้างวัดอโศการาม เพื่อให้เป็นหลักแหล่งของกุลบุตรกุลธิดา สืบต่อไป ในระหว่างอยู่วัดอโศการามเดือนธันวาคม ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะขึ้นโดยไม่รู้ตัว ในนาม พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์จึงได้ตั้งใจอยู่จำพรรษาในวัดนี้เรื่อยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ มาถึงปี พ.ศ. ๒๕๐๒

ในพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๐๒ รู้สึกว่าอาการป่วยมารบกวน เริ่มป่วยตั้งแต่กลางพรรษา มานึกถึงการเจ็บป่วยของตัว บางวันบางเวลาก็เกิดความท้อถอยในการที่จะมีชีวิตอยู่คือไป บางวันก็รู้สึกว่าจิตใจขาดกระเด็นไปจากศิษย์ มุ่งไปแต่ลำพังตนคนเดียว มองเห็นที่วิเวกสงัดว่าเป็นบรมสุขอย่างเลิศในทางธรรมะ บางวัน บางเวลา อาการป่วยทุเลา บางวันก็ป่วยตลอดคืนแต่พอทนได้ มีอาการปวดเสียดในกระเพาะ มีอาการจับไข้วันหนึ่งเป็นเวลาหลายๆ ชั่วโมง ฉะนั้นเมื่อออกพรรษาแล้วก็ได้มาพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า

ครั้งแรกได้มารักษาอยู่ที่โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า ตั้งแต่วันที่ ๒ พฤศจิกายน๒๕๐๒ จนถึงวันที่ ๕ เดือนเดียวกันก็กลับไปวัด เมื่อกลับไปวัดแล้ว อาการอาพาธชักกำเริบ พอถึงวันอังคารที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๐๒ ก็ได้กลับมาพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้าอีกครั้งหนึ่ง อาการป่วยก็ค่อยทุเลาเบาบาง

อยู่มาวันหนึ่งมานอนนิ่งนึกอยู่คนเดียวว่า เราเกิดมาก็ต้องการให้เป็นประโยชน์แก่ตนและคนอื่น แม้เราจะเกิดอยู่ในโลกที่มีการเจ็บป่วย ก็มุ่งทำประโยชน์ให้แก่โลกและพระศาสนาตลอดชาติ ทีนี้เราเจ็บป่วยเราก็อยากได้ประโยชน์อันเกิดจากการเจ็บป่วยในส่วนตนและคนอื่น ฉะนั้น จึงได้เขียนหนังสือขึ้นฉบับหนึ่ง มีใจความดังต่อไปนี้คือ

ห้องพิเศษ โรงพยาบาลบุคคโล ทหารเรือ

(โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า

เรื่องอาหารของท่านพ่อนั้น ใครๆ อย่าได้ห่วงอาลัย ทางโรงพยาบาลมีทุกอย่างว่าจะต้องการอะไร ฉะนั้น ถ้าใครๆ หวังดีมีศรัทธาแล้ว ให้คิดค่ารถที่นำไปนั้นเสีย คิดค่าอาหารที่พวกเราจ่ายไปนั้นเสีย เอาเงินจำนวนนั้น ๆ ไปทำบุญในทางอื่นจะดีกว่า เช่น หลวงพ่อใช้ยาของโรงพยาบาลไปเท่าไร เหลือจากท่านพ่อแล้วยังเป็นประโยชน์กับคนอื่นที่อนาถาต่อไป ให้พากันคิดเช่นนั้นจะดีกว่ากระมัง และตึกที่ท่านพ่อพักอยู่นั้นเป็นตึกพิเศษ ยังมิได้เปิดรับคนป่วยเลย นายแพทย์ก็ให้เกียรติท่านพ่อเต็มที่ แม้มูลค่าบำรุง ๑ สตางค์ ไม่เคยพูดกันสักคำ

ฉะนั้น ผู้ใดหวังดีแก่ท่านพ่อ ควรนำไปคิดดูก็แล้วกัน ในที่สุดนี้ท่านพ่อจะสร้างเตียงไว้เป็นที่ระลึกสักหน่อย ใครมีศรัทธาติดต่อท่านพ่อได้ หรือผู้อำนวยการและผู้ช่วยอำนวยการที่โรงพยาบาล บุคคโล ทหารเรือ

(ลงนาม) พระอาจารย์ลี

(หมายเหตุ โรงพยาบาลบุคคโล ทหารเรือ ได้รับอนุญาตจากกระทรวงกลาโหมให้เปลี่ยนชื่อใหม่ เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๐๒ เป็นโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า หลังท่านพ่อเข้ามาพักรักษาตัว ๑ วัน ทั้งๆ ที่ทางโรงพยาบาลได้ขอเปลี่ยนชื่อนี้ไปเป็นเวลานานแล้ว)

เมื่อได้เขียนหนังสือดังกล่าว ได้นึกอยู่ในใจว่า อย่างน้อยควรได้มูลค่าปัจจัยในการช่วยเหลือโรงพยาบาลครั้งนี้ ๓ หมื่นบาท จึงได้ออกประกาศแจ้งความจำนงแก่บรรดาสานุศิษย์ ต่างคนต่างมีศรัทธา บริจาคร่วมกันตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา

ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๐๒ มีคนจังหวัดสมุทรปราการมาเล่าให้ฟังที่โรงพยาบาล มีใจความ ๒ อย่าง คือ

๑. ได้เกิดมีรถยนต์ชนกัน มีคนตายอีกแถวโค้งมรณะ บางปิ้ง

๒. บางคนก็ว่ามีผีคอยหลอก แสดงให้ปรากฏต่างๆ นานา.

เมื่อได้ทราบดังนี้ จึงได้คิดดำริ ทำบุญอุทิศกุศลให้คนตายด้วยอุปัทวเหตุทางรถยนต์บนถนนสายนี้ จึงได้ไปปรึกษาปลัดจังหวัดสมุทรปราการ และคณะศิษย์ ก็ตกลงกันว่าต้องทำบุญ ได้กำหนดการทำบุญกันขึ้น โดยเริ่มงานตั้งแต่วันที่ ๑๘ ธันวาดม ๒๕๐๒ มีการสวดมนต์เย็นที่ปะรำข้างถนนสุขุมวิท ใกล้ที่ทำงานของตอนการทางสมุทรปราการ จัดการผ้าป่า ๕๐ กอง มีคณะศิษย์ไปร่วมอนุโมทนา คราวนี้ได้เงินสมทบทุนช่วยโรงพยาบาลจังหวัดสมุทรปราการทั้งสิ้น ๑๒,๖๐๐ บาทถ้วน (หนึ่งหมื่นสองพันหกร้อยบาทถ้วน)

วันที่ ๑๙ ธันวาดม ๒๕๐๒ ได้ถวายอาหารพระ ๕๐ รูป ทอดผ้าป่า ๕๐ กองเปลี่ยนซื่อโค้งใหม่ดังนี้

๑. ที่เรียกว่าโค้งโพธิ์แต่เดิมนั้น ให้ชื่อใหม่ว่า โค้งโพธิ์สัตว์

๒. ที่เรียกว่าโค้งมรณะแต่เดิมนั้น ให้ชื่อใหม่ว่า โค้งปลอดภัย

๓. ที่เรียกว่าโค้งมิได้แต่เดิมนั้น ให้ชื่อใหม่ว่า โค้งชัยมงคล

เมื่อสำเร็จเรียบร้อยแล้ว ได้กลับมาโรงพยาบาลตอนบ่ายวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๐๒ ก็ได้พักรักษาตัวอยู่เป็นเวลาหลายวัน นายแพทย์และจ่าพยาบาลได้เอาใจใส่ศึกษาและให้ความสะดวกเป็นอย่างดี เช่น พลเรือจัตวา สนิท โปษกฤษณะ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลได้เอาใจใส่มาก ทุกวันเวลาเช้ามืดได้นำอาหารมาถวายเป็นนิจ คอยปฏิบัติดูแลเหมือนกับลูกศิษย์ และในระหว่างนี้ก็ได้คิดเขียนหนังสือขึ้นฉบับหนึ่ง ชื่อว่า คู่มือบรรเทาทุกข์เพื่อแจกเป็นธรรมทาน ในการสร้างหนังสือนี้ เราก็ไม่ได้รับความลำบาก มีลูกศิษย์รับจัดพิมพ์ช่วย ๒,๐๐๐ เล่ม คือคุณนายละมัย อำนวยสงคราม ๑,๐๐๐ เล่ม ร.ท. อยุธ บุณยฤทธิรักษา ๑,๐๐๐ เล่ม รู้สึกว่าการคิดนึกของตนก็ได้เป็นไปตามสมควร เช่น ต้องการเงินบำรุงโรงพยาบาล มาถึงวันที่ได้ออกจากโรงพยาบาล คือวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๐๓ รวมเวลาอยู่ในโรงพยาบาล ๔๕ วัน ก็มียอดเงินประมาณ ๓๑ ๕๓๕ บาท แสดงว่าเราเจ็บ เราก็ได้ทำประโยชน์ แม้จะตายไปจากโลกนี้ก็ยังคิดอยู่ว่าชากกเรวรากที่เหลืออยู่ ก็อยากให้เกิดประโยชน์แก่คนที่ยังมีชีวิตอยู่ ตัวอย่างที่เคยเห็นมา เช่น ครูบาศรีวิชัย ซึ่งชาวเมืองเหนือเคารพนับถือ ท่านได้ดำริสร้างสะพานข้ามแม่น้ำปิง แต่ยังไม่สำเร็จก็ตายเสียก่อน ต่อจากนั้นได้มีคนเอาศพของท่านไปตั้งไว้ใกล้ๆ สะพาน ถ้าลูกศิษย์หรือพุทธบริษัทอื่น ๆ ต้องการจะช่วยทำการฌาปนกิจศพท่าน ก็ขอให้ช่วยกันสร้างสะพานให้สำเร็จเสียก่อน ในที่สุด ครูบาศรีวิชัยก็นอนเน่าทำประโยชน์ให้แก่ประชาชนได้

ฉะนั้น ชีวิตความเป็นมาของตน ก็ได้คิดมุ่งอยู่อย่างนี้เรื่อยมา นับตั้งแต่ได้ออกปฏิบัติในทางวิปัสสนากรรมฐานมาแต่ พ.ศ. ๒๔๖๙ จนถึง พ.ศ. ๒๕๐๒ นี้ได้อบรมสั่งสอนหมู่คณะสานุศิษย์ในจังหวัดต่างๆ ได้สร้างสำนึกให้ความสะดวกแก่พุทธบริษัท เช่น จังหวัดจันทบุรี มี ๑๑ สำนัก การสร้างสำนักนี้มีอยู่ ๒ ทาง คือ

๑. เมื่อลูกศิษย์ได้ก่อร่างสร้างตัวขึ้น ยังไม่สมบูรณ์ก็ช่วยเป็นกำลังสนับสนุน

๒. เมื่อเพื่อนฝูงได้ดำริสร้างขึ้นยังไม่สำเร็จ บางแห่งก็ขาดพระ ก็ได้ส่งพระที่เป็นศิษย์ไปอยู่ประจำต่อไปก็มี บางสำนักครูบาอาจารย์ได้ไปผ่านและสร้างขึ้นไว้แต่กาลก่อน ก็ได้เดินทางไปเยี่ยมและอบรมหมู่คณะเรื่อยมาจนบัดนี้ จังหวัดจันทบุรีมี ๑๑ แห่ง นครราชสีมามีสำนักปฏิบัติ ๒-๓ แห่ง ศรีสะเกษ ๑ แห่ง สุรินทร์ก็มี เป็นเพื่อนกรรมฐานทั้งนั้น อุบลราชธานี มีหลายแห่ง นครพนม สกลนคร อุดรธานี ขอนแก่น เลย ชัยภูมิ เพชรบูรณ์ ปราจีนบุรี ระยอง ตราด ลพบุรี ชัยนาท ตาก นครสวรรค์ พิษณุโลก เป็นวันที่ผ่านไปอบรมชั่วคราวไม่มีสำนัก สระบุรีมี ๑ แห่ง อุตรดิตถ์ก็เป็นจุดผ่าน ไปอบรมลำปาง เชียงราย เชียงใหม่ นครนายก นครปฐม ได้ผ่านไปอบรมชั่วคราว ยังไม่มีสานัก ราชบุรีได้ผ่านไปอบรม ยังไม่มีสำนัก เพชรบุรี มีพระเณรเพื่อนฝูงตั้งสานักไว้บ้าง ประจวบฯ  ได้เริ่มสร้างสำนักที่อำเภอหัวหิน ชุมพร มีสำนักอยู่ ๒-๓ แห่ง สุราษฎร์ธานีผ่านไปอบรมชั่วคราว ไม่มีสำนัก นครศรีธรรมราชก็ผ่านไปอบรมมีสำนักขึ้นก็รกร้างไป พัทลุง มีศิษย์ผ่านไปอบรมยังไม่มีสำนัก สงขลามีสำนักที่วิเวกหลายแห่ง ยะลา มีศิษย์ไปเริ่มอบรมไว้เป็นพื้นที่และได้เคยไปอบรม ๒ ครั้ง

ระหว่างออกพรรษาได้สัญจรไปเยี่ยมศิษย์เก่าๆ ของครูบาอาจารย์ที่เคยไปพักผ่อนมาแล้ว ก็ได้ไปอยู่เสมอมิได้ขาด บางคราวก็ได้หลบหลีกไปบำเพ็ญประโยชน์ส่วนตัวบ้าง นับตั้งแต่ได้อุปสมบทมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๘ แต่มาสวดญัตติใหม่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๐ จำเดิมแต่นั้นมา ปีแรกที่ได้สวดญัตติแล้ว ได้อยู่จำพรรษาที่จังหวัดอุบลราชธานี ๖ พรรษา มาจำพรรษาวัดสระปทุม พระนคร ๓ พรรษา ไปจำพรรษาอยู่ที่เชียงใหม่ ๒ พรรษา จำพรรษาที่จังหวัดนครราชสีมา ๒ พรรษา จังหวัดปราจีนบุรี ๑ พรรษา มาสร้างสำนักที่จันทบุรี จำพรรษาอยู่ ๑๔ พรรษา ต่อจากนั้นไปจำพรรษาที่ประเทศอินเคย ๑ พรรษา กลับจากประเทศอินเดียผ่านประเทศพม่า ไปจำพรรษาที่วัดควนมีด จังหวัดสงขลา ๑ พรรษา จากนั้นได้จำพรรษาที่วัดบรมนิวาส ๓ พรรษา สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน) มรณภาพ แล้วได้ออกไปจำพรรษาอยู่วัดอโศการาม ๔ พรรษา พรรษาที่ ๔ นี้ ตรงกับปี พ.ศ. ๒๕๐๒

เวลาที่ได้เขียนประวัติขึ้นนี้ กำลังนอนป่วยอยู่ที่โรงพยาบาล สมเด็จพระปิ่นเกล้าธนบุรี

วันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๔ เวลากลางคืน ท่านจึงได้ทิ้งขันธ์จากศิษยานุศิษย์ของท่านไป

ดิเรก มณีรัตน์

ผู้บันทึก