Monday, November 28, 2011

สมเด็จปรกโพธิ์ เยี่ยวชะนี ปี 2549 พิเศษฝังตะกรุด 3 ดอก




สมเด็จเยี่ยวชะนีนั้น หลวงพ่อตัดท่านได้เคล็ดลับนี้มาจากหลวงพ่อกริช วัดเขากระจิว ในการทำพระพิมพ์สมเด็จเยี่ยวชะนีนั้น มวลสารสำคัญที่ขาดเสียไม่ได้ก็มีอยู่ด้วยกัน 4 อย่างคือ
1.ยอดสวาท
2.ยอดรักซ้อน
3.ว่านสาวหลง
4.เยี่ยวชะนี
ในส่วนของเยี่ยวชะนีนั้น ส่วนใหญ่จะได้มาจากวัดหนองตาแต้ม จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพราที่วัดนั้นเลี้ยงชะนีไว้ ส่วนการเก็บเยี่ยวชะนีก็จะเก็บมาโดยเอาใบไม้ที่ชะนีเยี่ยวรดไว้ มาผึงแดด และบดเป็นผงถ้ามีโอกาสจะนำรูปมาให้ชมในโอกาสต่อไปครับ ในส่วนของการปลุกเสกก็ใช้คาถา"นะมหาอ่อนใจ "เป็นหลักในการปลุกเสกวัตถุมงคล ด้านเมตตาของวัดชายนาทั้งหมด ซึ่งวิชานี้หลวงพ่อท่านได้เรียนมาจาก หลวงพ่อเทพ วัดถ้ำรงค์ จ.เพชรบุรีครับผม

สมเด็จเยี่ยวชะนีปรากฏตัวขึ้นครั้งแรกประมาณปี ๒๕๒๗ ออกในนามวัดเขากระจิว ในจำนวนหลักสิบ เป็นพระพิมพ์ปรกโพธิ์ขนาดค่อนข้างใหญ่ รุ่นแรกนี้พอหาได้แต่ราคาเล่นหากันค่อนข้างสูงใน เพดานหลักหมื่น สมเด็จเยี่ยวชะนีที่ออกในชื่อวัดชายนา รุ่นแรก ประมาณปี ๒๕๔๘ ต่อ ๒๕๔๙ ในจำนวนประมาณ ๒๐๐ องค์
รุ่นสองนี้มีจะทั้งพิมพ์สมเด็จและขุนแผนเยี่ยวชะนี รุ่นสองนี้มีฝังตะกรุดทองคำจำนวนหลักสิบ มีราคาทีหากันประมาณ พันปลายๆ ถึงหมื่นต้นๆ
ต่อมาในปี ๒๕๕๐ ได้มีการสร้างสมเด็จและขุนแผนเยี่ยวชะนีผสมผงพรายกุมารหลวงปู่ทิม อีกจำนวนหนึ่ง
ในระยะเวลาไล่เลี่ยกันคือปลายปี ๒๕๕๐ ต่อต้นปี ๒๕๕๑ ได้มีการกดพิมพ์สมเด็จเยี่ยวชะนีอีกครั้ง จำนวนเยอะที่สุดตั้งแต่สร้างมา คือประมาณ ๓,๐๐๐ องค์ มีัวัตถุประสงค์ให้หลวงพ่อปลุกเสก ๕ ปี หรือบรรจุกรุไว้ในโบสถ์ ครบ ๕ ปีแล้วจึงนำออกแจกให้บูชากัน

การสร้างครั้งหลังสุดนี้ได้ทำลายบล็อคทิ้งไปด้วยแล้ว จำนวนพระสมเด็จเยี่ยวชะนีที่สร้างในระหว่างปี ๕๐-๕๑ จึงมีจำนวนประมาณ ๕,๐๐๐ องค์เท่ากับอายุของพระพุทธศาสนา จึงไม่น่าแปลกที่ ผู้ที่ศรัทธาจะนิยมหาสมเด็จเยี่ยวชะนีปี ๔๘ มากกว่า เพราะจำนวนสร้างเพียงแค่ ๒๐๐ องค์ และเนื่องจากพระทั้งหมดใช้บล็อคเดียวกัน การแยกปีหรือรุ่นคงต้องดูความแตกต่างกันที่เนื้อมวลสาร ของแต่ละยุค

No comments:

Post a Comment