ประวัติวัดเขาชะงุ้ม
วัดเขาชะงุ้มเดิมชื่อว่า “สำนักสงฆ์เขาชะงุ้ม”ตั่งอยู่ที่ชุมชนเขาชะงุ้ม หมู่ 5 ต. เขาชะงุ้ม จ. ราชบุรี ตั่งอยู่ใกล้เขาสูงโดดเดี่ยวลูกหนึ่งที่มองแต่ไกลแลดูเหมือนสิงโตหมอบ ด้านศีรษะหักมุมตั่งเป็นหน้าผาสูงชันมองดูตระหง่านง้ำ เงื้อมชะโงก อันเป็นที่มาของเขาชะงุ้ม
วัดนี้เดิมสันนิษฐานว่าเป็นสำนักสงฆ์ หรือวัดขนาดเล็กที่มีมานาน โดยอายมีประวัติย้อนยุคขึ้นไปถึงกรุงศรีอยุธยา ทั้งนี้เพราะสภาพสถานที่ตั่งของวัดปัจจุบัน เป็นที่อยู่ของผู้คนต่อเนื่องกันมาแต่โบราณ มีคนพบขวานหินลูกปัดตามป่า ตามถ้ำต่างๆ เสมอ ประกอบกับด้านหลังของวัดมีบ่อน้ำเก่าแก่ มีน้ำจืดใช้อาบใช้ดื่มได้ตลอดปีแม้ยามหน้าแล้ง นอกจากนี้ยังมีฐานเจดีย์โบราณขนาดใหญ่ กว้างประมาณ 10 วา สูง 2 วา ถูกทิ้งร้างเป็นเนินดินสูงโดยไม่มีผู้ใดทราบประวัติความเป็นมา
ประมาณ 50 ปีก่อน ในยุคของหลวงพ่อก๋ง เกจิอาจารย์ชื่อดังผู้มีอาคมขลังของวัดเขาชะงุ้ม ได้ทำพิธีบวงสรวงขอขมาแด่เจ้าของเดิม ขออนุญาตรื้อฐานเจดีย์นี้ออกเพื่อสร้างกุฎิสงฆ์ และศาลาการเปรียญ ปรากฏว่าเมื่อรถแทรกเตอร์ได้เกรดปรับพื้นที่นั่น พบอิฐมอญขนาดใหญ่ที่นิยมใช้ก่อสร้างวัดในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์และภายในเนินของเจดีย์พบเศษกระเบื้อง ถ้วยชามแตกหักจำนวนมาก จึงเชื่อได้ว่าสถามที่นี้เคยตั่งเป็นสำนักสงฆ์มาก่อนแต่ไม่มีพยานหลักฐาน หรือ สามารถสืบประวัติย้อนหลังจากคนรุ่นเก่าได้ก็เพราะวัดและหมู่บ้านเขาชะงุ้มนี้ได้ถูกทิ้งร้างเป็นระยะๆเนื่องจากภัยสงครามระหว่างไทย-พม่า
ตามประวัติศาสตร์ไทยรบพม่านั้น พม่าใช้กลยุทธ์ตีหัวเมืองชานพระนครก่อน เป็นการกรุยทางเดินทัพ จัดตั้งยุ้งฉาง ตระเตรียมเสบียงพร้อมกับปล้นทรัพย์ กวาดต้อนผู้คนเป็นเชลยใช้แรงงาน และส่งกลับไปเมืองพม่า
สมัยอยุธยา พม่าใช้เส้นทางเดินทัพผ่านราชบุรี เขาชะงุ้ม โดยเข้ามาทางด้านบ้องตี้ ผ่านเมืองกาญจนบุรีมาราชบุรี นอกจากนี้ยังเข้ามาทางราชบุรีโดยตรงโดยผ่านผ่านด่านเจ้าเขว้าและด่านทับตะโกเขตสวนผึ้ง
สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เมื่อพ.ศ.2317 อะแซหวุ่นกี้ได้ให้ งุยอคุงหวุ่น ยกทับติดตามครัวมอญมาจากเมืองเมาะตะมะ เข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ สู่เมืองราชบุรี โดยพระเจ้าตากสินฯ ให้จัดทัพสกัดที่บ้านบางแก้ว (นางแก้ว) เขตติดต่อบ้านเขาชะงุ้ม
สมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เกิดสงครามเก้าทัพ หัวเมืองตะวันตก พม่าให้อนอกะแฝกคิดหวุ่นเป็นแม่ทัพถือพล 10,000 คนมาทาง ด่านบ้องตี้ เข้าตีเมืองราชบุรี และสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ได้ตั่งเจ้าพระยาธรรมา (บุญรอด) เป็นแม่ทัพถือพล 5,000 คน ไปสกัดทัพพม่าที่บ้านบางแก้ว-เขาชะงุ้ม
จะเห็นได้ว่า เขาชะงุ้ม เป็นเส้นทางเดินทัพมาตั่งแต่โบราณ ฉะนั้นหมู่บ้านคน รวมทั้งวัดและเจดีย์ขนาดใหญ่จึงถูกทิ้งร้างไป เนื่องจากส่วนหนึ่งได้อพยพหนีภัยสงคราม และอีกส่วนหนึ่งได้ถูกกวาดต้อนเป็นเชลยไปอยู่เมืองพม่าก็เป็นได้...
ประวัติวัดเขาชะงุ้มปัจจุบันนี้สามารถสอบถามคนแก่รุ่นเก่าๆย้อนอดีตขึ้นไปได้ไม่เกิน พ.ศ.2465 เนื่องจากคนท้องถิ่นดั่งเดิมได้สาบสูญไป ส่วนคนที่อยู่ปัจจุบันบรรพบุรุษล้วนแต่อพยพมาจากที่อื่น เช่น บ้านสมถะ บ้านท่าหลวงพล หรือท้องทีอื่นของเขตอำเภอโพธารามในช่วงไม่เกิน 100 ปีทั้งสิ้นและได้ทำการรื้อฟื้นสำนักสงฆ์วัดเขาชะงุ้มขึ้นมาใหม่
จึงพอลำดับประวัติวัดและลำดับเจ้าอาวาสไดดังนี้
1.เจ้าอาวาสสำนักสงฆ์ก่อนปี พ.ศ.2465 มีติดต่อกันหลายองค์ไม่มีผู้ใดทราบประวัติ2.หลวงพ่อกล่อมประมาณปี พ.ศ.2465-2496เริ่มมีการก้อสร้างถาวรวัตถุมากขึ้นเช่นสร้างอุโบสถกุฎิพระ ศาลาการเปรียญ3.หลวงพ่อแจ้งประมาณปี พ.ศ.2496-2504ได้ทำการก่อสร้างศาลาการเปรียญหลังปัจจุบัน4.หลวงพ่อปลอดประมาณปี พ.ศ.2505เป็นเจ้าอาวาสระยะสั้นไม่ทราบประวัติแน่ชัด5.หลวงพ่อพันประมาณปี พ.ศ.2505-2527ได้ปฎิสังขรณ์ศาลาการเปรียญ กฎิสงฆ์6.หลวงพ่อผัด(พระครูไพศาลพัฒนโกศล)พ.ศ.2527-ปัจจุบันได้สร้างอุโบสถหลังใหม่ ปิดทอง ฝังลูกนิมิต เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2542ได้รับรับพระราชทานวิสุงคามสีมาในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ.2541 ในสมัยนายชวนหลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี
เขาชะงุ้ม..เขาที่ตั่งโดดเดี่ยวเป็นรูปสิงโตที่หมอบเฝ้าดูความสุข ความทุกข์ของมวลมนุษย์ที่สัญจรไป-มา ตามวงเวียนกรรมมาแต่อดีตกาล
พระอาจารย์ประโมท สุวรรณรูป
" ตำนานที่ยังมีลมหายใจ "
วัดเขาชะงุ้ม ต.เขาชะงุ้ม อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
สร้างสมัยปลายยุคกรุงศรีอยุธยา โดยแรกเริ่มตั่งสำนักสงฆ์ ต่อมา สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ขณะ
ดำรงพระยศพระยามหากษัตริย์ศึก ได้ตั่งกองทัพ ณ ช่องเขาชะงุ้ม เพื่อยันกองทัพพม่าที่เข้ามารุกรานและสามารถขับไล่ข้าศึกพ้นจากผืนปฐพีไทยจึงเป็นวัดหนึ่งที่มีความสำคัญทาประวัติศาสตร์
ปัจจุบันวัดเขาชะงุ้มอุโบสถหลังเก่าสร้างด้วยคอนกรีดเสริมเหล็กเมื่อ พ.ศ. 2484 และอุโบสถที่สร้างใหม่ได้รับพระราชทานวิสุง
คามสีมาเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2541 แต่ยังไม่มีกุฎิเสนาสนะ เป็นที่ลำบากสำหรับพระภิษุ-สามเณรในการใช้จำพรรษา
พระอาจารย์ประโมท สุวรรณรูป ซึ่งเป็นชาวอำเภอ วิเศษชัญชาญจ.อ่างทอง ได้เดินธุดงค์มาถึงเขาชะงุ้ม อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
ชาวบ้านเห็นวัตรปฎิบัติอันดีงามของท่าน จึงได้ อาราธนาท่านจำพรรษา ณ วัดแห่งนี้
ชาวบ้านเห็นว่าท่านเคร่งครัดในการทำวัตร ลงโบสถ์เจริญวิปัสสนากรรมฐาน จึงเกิดคสวามเลื่อมใส ศรัทธาเมื่อมีปัญหาชีวิตก้อไปปรึกษา พระอาจารย์ประโมทก็จะแนะทางออกยกธรรมะมาเป็นข้อคิดในส่วนที่ผู้ทุกข์ร้อนถูกคุณไสย ท่านก็รักษาให้โดยการ
อาบน้ำมนต์ ถอนคุณไสย คนที่มาให้ท่านรักษา จากคนที่สภาพจิตไม่คงที่ มีอารมณ์คลุ้มคลั่ง กลายเป็นคนที่มีสติสัมปชัญญะ
พร้อมเหมือนคนปกติโดยทั่วไป
กิตติศัพท์ในความเป็นพระอาคมขลังโจษขานไปทั่วทำให้คนทั่วไปต่างเดินทางมาให้ท่านปัดเป่าความทุกข์ร้อนบ้างก็มาขอทำนายดวงชะตาบ้าง ขอเสริมดวงชะตาบ้าง และขอพรบ้าง บางรายก็ขอให้ท่านรักษาโรคที่รักษาไม่หาย หลายๆ รายรักษาหายเพราะยาสมุนไพรที่แนะนำ ทำให้ท่านกลายเป็นหมอพระและเป็นที่พึ่งทางใจของชาวบ้านในเวลาต่อมา ..
No comments:
Post a Comment